เรื่อง บันได
บันไดเป็นเครื่องผ่อนแรงในการปีนขึ้นพื้นบ้าน บ้านโบราณที่ปลูกในไร่หรือท้องนาต้องปลูกบ้านยกพื้นสูงใต้ถุนผูกควายวัวได้ ก็ทำบันไดขึ้นบ้านด้วยไม้ไผ่ ขึ้นบ้านแล้วก็ชักบันไดขึ้นกันคนย่องขึ้นบ้านแต่เมื่อบ้านมาสร้างในเมือง การทำบันไดก็ทำบันไดถาวร ติดตาย ทำด้วยไม้จริง รูปแบบก็เป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก มีการกำหนดระยะลูกตั้ง (ต.) และระยะลูกนอน (น.) ให้ขึ้นลงได้สะดวก ปลอดภัย หาหลักการของบันไดที่แท้
พอสรุปได้ดังนี้
1.เวลาเขียนแบบบันได จะกำหนดระยะลูกตั้ง (ต.) และระยะลูกนอน (น.) ไว้ในแบบนานเข้าก็เขวไปเฉย เรียกขั้นบันไดว่าลูกนอนด้วยความจริง ต. และ น. เป็นระยะที่กำหนดในแบบ น. หรือลูกนอนระยะเท้าเหยียบบนลูกหรือขั้นบันได ขั้นบันไดจะต้องเพิ่มความกว้างอีก “1-1½” เป็นจมูกบันไดด้วย (เช่น น. 10 + จมูกบันได 1 = ไม้ขั้นบันไดต้องกว้าง 11 เป็นอย่างน้อย) ส่วน ต. หรือระยะลูกตั้งเป็นระยะตามแนวดิ่งจากผิวบนของไม้ขั้นบันไดต่อผิวบนอีกขั้นถัดไประยะ ต. จะกำหนดระหว่าง15-20 ซม. (6-8) ตามความเหมาะสม
2.ระยะลูกนอน ต้องมีส่วนสัมพันธ์กับระยะลูกตั้ง (ที่กำหนดก่อน) มีสูตรความสัมพันธ์
ระหว่าง ต. และ น. คือ
2ต.+1น. = 25นิ้ว (63-5ซม.)
เช่นถ้ากำหนด ต. 17.5ซม. น. = 63.5 – (2×17.5)
= 28.5 ซม.
เมื่อบวกจมูกบันไดอีก1หรือ2.5 ซม.ไม้ทำขั้นบันได ต้องเป็น 28.5+2.5=31.0 ซม ประมาณ12 กว่านิดหน่อย
3.ความยาวของแม่บันไดก็คำนวณต่อจากระยะทอดของลูกบันได คูณกับจำนวนขั้นเป็นสูตรว่าความยาวแม่บันได = จำนวณขั้น X ใครสนใจจะทดลองสมมุติตัวเลขคำนวณดูก็ได้ สนุกดี
4.เวลาสร้างบันไดจริง จะมีปัญหาจากการติดตั้งทำให้เกิดรูปบันได 2 แบบคือบันไดพุกนอนและบันไดพุกใน (หรือบันไดเจาะ) ถ้าทำบันได พะตง ต้องทำเป็นบันไดพุกใน หากแม่บันไดไปพาดคานจะต้องทำบันไดพุกนอน
5.หลักการของบันไดเวียนกลม ให้ลองฉีกกระดาษเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากพันแท่งดินสอ ก็จะเห็นหลักของบันไดเวียนชัดเจน สนในลองทำดูครับ